วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15 วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2557

สรุปการเรียนในครั้งนี้

การดูแลรักษาและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
3.เด็กทีมีปัญหาในการเรียนรู้ (LD)
  -การดูแลคือการให้ความช่วยเหลือ
     มองหาจุดเด่น อาจให้คำชม
     ให้แรงเสริมทางบวก
     รู้จักลักษณะของเด็ก
     สังเกตพฤติกรรม ความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
     การทำแผน IEP
   -การรักษาด้วยยา
     Ritalin มีลักษณะคล้ายยารักษาโรคสมาธิสั้น
   -หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
      สำนักงานการบริหารการศึกษาพิเศษ
      โรงเรียนศึกษาสงเคราะหื
      ศูนย์การศึกษาพิเศษ
      โรงเรียนเฉพาะคนพิการ
      สถาบันราชานุกูล
จากนั้นอาจารย์ให้ดูคลิปวิดีโอ เรื่อง IE เรียนอย่างไรในศูนย์การศึกษา

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ต้องไปค่ายพัฒนาชุมชนที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 วันที่ 30 มกราคม 2557

สรุปการเรียนในครั้งนี้
การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1.Down'syndrome
   -รักษาตามอาการ เน้านการช่วยเหลือตนเอง
   -แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
   -เน้นการดูแลแบบองค์รวม
       ด้านอนามัย พ่อแม่พาเด็กไปหาหมอตั้งแต่แรกเริ่ม
       ด้านส่งเสริมพัฒนาการ ต้องได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
       ด้านการดำรงชีวิต  ฝึกการช่วยเหลือตนเอง
       ด้านฟื้นฟูสมรรถภาพ ฟื้นฟูทางการแพทย์ การทำแผน IEP ฟื้นฟูด้านสังคม ฟื้นฟูโดยการฝึกอาชีพ
    -การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
        ควรให้นอนตะแคง
    -การปฏิบัติของพ่อแม่
        ต้องยอมรับความจริงให้ได้
    -การส่งเสริมพัฒนาการ
         สอนวิธีการปรับตัวและช่วยเหลือตนเอง
         ลดพฤติกรรมไม่เหมาะสม
2.Autistic
     ครอบครัวมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
   -ส่งเสริมความสามารถเด็ก
      ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
   -การปรับตัวและฝึกทักษะทางสังคม
      เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมไม่เหมาะสม
   -การฝึกการพูด
      ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
   -การส่งเสริมพัฒนาการ
      ให้เด็กมีพัฒนาการไปตามวัย
      เน้นเรื่องการมองตา สมาธิ ฟัง พูด ทำตามคำสั่ง
  -ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
      เพิ่มทักษะทางสังคม สื่อสาร การคิด
  -ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
      การบำบัดทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด การฝังเข็ม
  -สิ่งที่พ่อแม่ควรคำนึง
      -ลูกต้องพัฒนาได้
      -เรารักลูกเราไม่ว่าจะเป็นยังไง
      -หยุดรักไม่ได้
      -ดูแลจิตใจให้เข้มแข็ง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 วันที่ 23 มกราคม 2557

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่เหลือคือ กลุ่มเรื่อง เด็กออทิสติก ออกมานำเสนอและมีการสอบในรายวิชานี้

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 วันที่ 16 มกราคม 2557

  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากความวุ่นวายทางการ

เมือง จึงทำให้เพื่อนบางคนไม่สะดวกในการเดินทางมา

มหาวิทยาลัย อาจารย์จึงมอบหมางานให้นักศึกษาไปสรุปงาน

วิจัยของตนเอง ตามหัวข้อ ดังนี้     
1.ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย

2.ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย

3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

4.ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย

5.นิยามศัพท์เฉพาะ

6.ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง

7.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

8.การดำเนินการวิจัย

9.สรุปผลการวิจัย

10.ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 วันที่ 9 มกราคม 2557

สรุปการเรียนในครั้งนี้
เพื่อนออกมานำเสนอเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
กลุ่มที่ 1เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
กลุ่มที่ 2เด็กซีพี
กลุ่มที่ 3เด็กสมาธิสั้น
กลุ่มที่ 4เด็กดาวน์ซินโดรม

จากนั้นอาจารย์ให้ทำแบบทดสอบวัดไอคิว

รูปที่ 1 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 2 ปี
รูปที่ 2 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 3 ปี
รูปที่ 3 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 4 ปี
รูปที่ 4 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 5 ปี
รูปที่ 5 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 6 ปี
รูปที่ 6 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 7 ปี
รูปที่ 7 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 8 ปี
รูปที่ 8 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 9 ปี
  รูปที่ 9 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 10 ปี
    รูปที่ 10 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 11 ปี
    รูปที่ 11 เป็นความสามารถของเด็กอายุ 12 ปี

แนวทางการดูแลรักษา
1.หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่อง
2.ดูความผิดปกติร่วม เช่น หูหนวก ตาบอด
3.รักษาตามสาเหตุ
4.ส่งเสริมพัฒนาการ
5.ให้คำปรึกษากับครอบครัว
ขั้นตอนในการดูแลเด็ก
1.คัดกรองพัฒนาการ
2.การตรวจสอบพัฒนาการ
3.วินิจฉัยและหาสาเหตุ
4.การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5.การติดตามผลและประเมินผลระยะยาว

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 วันที่ 2 มกราคม 2557

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันขึ้นปีใหม่

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8 วันที่ 26 ธันวาคม 2556

  วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับการแข่งขันกีฬา

บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชัฏจันทรเกษม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันที่ 19 ธันวาคม 2556

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 วันที่ 12 ธันวาคม 2556

สรุปความรู้ที่ได้จากครั้งนี้
พัฒนาการ 
   -การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะส่วนต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
   -ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เด็กทีมีความบกพร่องทางพัฒนาการ พัฒนาการหยุดอยู่กับที่ มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด้ปกติในวัยเดียวกัน อาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
 สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
      1.โรคทางพันธุกรรม เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ามาแต่กำเนิด มักมีความผิดปกติร่วม คือ หูหนวกและตาบอด เช่น เด็กเผือก เด็กเท้าแสนปม
      2.โรคทางระบบประสาท มักมีอาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ อาการชัก
      3.การติดเชื้อ ติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การไดยินบกพร่อง ต้อกระจก การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอัเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ
      4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
      5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การขาดออกซิเจนระหว่างคลอด เช่น รกพันคอเด็ก การคลอดก่อนกำหนด
      6.สารเคมี
            -ตะกั่ว ส่งผลกระทบต่เด็กมากที่สุด เด็กจะมีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษ ระดับสติปัญญาต่ำ
            -แอลกอฮอล์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ตัวเล็ก ศีรษะเล็ก พัฒนาการของสติปัญญามีความบกพร่อง บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
      7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งขาดสารอาหาร มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ปฏิกิริยาสะท้อน
    การซักประวัติ
      -โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
      -การเจ็บป่วยในครอบครัว
      -ประวัติฝากครรภ์
      -ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
      -พัฒนาการที่ผ่านมา
      -การเล่นตามวัย
      -ปัญหาพฤติกรรม
        1.เมื่อซักประวัติ
            -ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่และถดถอย
            -เด็กมีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ ระดับไหน
            -สาเหตุจากโลกพันธุกรรมหรือไม่
            -สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการ
        2.การตรวจร่างกาย
           -ตรวจร่างกายทั่วๆไปและเจริญเติบโต
           -ภาวะตับม้ามโต
           -ผิวหนัง
           -ระบบประสาทและวัดรอบศีรษะด้วยเสมอ
           -ดูลักษะของเด้กที่ถูกทารุณกรรม
           -ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
    3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
    4.ประเมินพัฒนาการ ประเมินไม่เป็นทางการ คือ สอบถามประวัติพ่อแม่ ผู้ปกครอง
          การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
             -แบบทดสอบ Denver ll
             -Gesell Drawing Test
             -แบบประเมินพัฒนาการเด้กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - 5 ปี สถาบันราชานุกูล
  

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5 วันที่ 5 ธันวาคม 2556

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับวันพ่อแห่งชาติ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556

สรุปความรู้ในครั้งนี้
6.เด็กทีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และไม่สามารถอยู่กับผู้อื่นได้ แบ่งได้ 2 ประเภท
  1.เด็กที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ทำให้เด็กก้าวร้าวมาก
  2.เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
     -วิตกกังวล
     -หนีสังคม
     -ก้าวร้าว
   ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังนี้
     -สภาพแวดล้อม
     -ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
   ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
     -ไม่สามารถเรียนได้
     -มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
     -มีความคับข้องใจและมีอารมณ์เก็บกด
     -ชอบปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย
     -มีความหวาดกลัว
    เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
      -เด็กสมาธิสั้น(ADHD) ซนไม่อยู่นิ่ง ซนมากผิดปกติเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
      -เด็กออทิสติก
     ลักษณะของเด็กทีมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
       -อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้าหรือที่นอน
       -ติดขวดนม ตุ๊กตาของใช้ในวัยเด็ก
       -ดูดนิ้ว กัดเล็บ
       -หงอยเหงาเศร้าซึม
       -การเรียกร้องความสนใจ
       -ขี้อิจฉา ก้าวร้าว
7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือเรียกว่า LD  เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง มีปัญหาการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
    ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
        -มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
        -ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
        -มีปัญหาด้านการอ่าน เขียน 
        -ซุ่มซ่าม
8.ออทิสติก (Autistic) หรือ (Autism) มีความบกพร่องในการสื่อสารความหมาย พฤติกรรมสังคม มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว รักษาไม่หาย ติดตัวตลอดชีวิต
      -ทักษะทางภาษาและทางสังคม ต่ำ
      -ทักษะการเคลื่นไหวและการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ สูง
  ลักษณะของเด็กออทิสติก
    -อยู่ในโลกของตนเอง
    -ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ใครปลอบ
    -ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
    -เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
    -ยึดติดวัตถุ
    -มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
9.พิการซ้อน 
   -มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง
   -เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
   -เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
   -เด็กที่หูหนวกและตาบอด