วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556

สรุปความรู้ในครั้งนี้

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จำแนกได้เป็น 2 ประเภท
   1. บกพร่องทางร่างกาย
     1.1 ซีพี สมองพิการ
             อาการ 
             -อัมพาตครึ่งซีก
             -สูญเสียการทรงตัว
             -อัมพาตแบบผสม
     1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
              อาการ
             -เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้
             -มีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
      1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ
              อาการ
             -กระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด
             -อัมพาตครึ่งท่อน
             -กล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ
      1.4 โปลิโอ
              อาการ
             -มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก เชื้อเข้าทางปาก
             -ยืนไม่ได้เองแต่ยืนได้โดยใช้อุปกรณ์
      1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด
      1.6 โรคกระดูกอ่อน
   2.ความบกพร่องทางสุขภาพ
      2.1โรคลมชัก(Epilepsy)เกิดจากความปกติของสมอง
         -ลมบ้าหมู
         -ชักในเวลาสั้นๆ
         -การชักแบบรุนแรง
         -อาการชักแบบ Partial Complex
         -อาการชักแบบไม่รู้ตัว 
     ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
         -มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
         -ท่าเดินคล้ายกรรไกร
         -หิวกระหายน้ำอย่างเกินเหตุ
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    5.1ความผิดปกติด้านการออกเสียง
        -ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
        -เพิ่มหน่วยเสียงเข้าไปโดยไม่จำเป็น
    5.2ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด
        -พูดรัว
        -พูดติดอ่าง
    5.3ความผิดปกติด้านเสียง
        -ระดับเสียง
        -ความดัง
        -คุณภาพของเสียง
    5.4ความผิดปกติทางการพูดและภาษา อันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมองโดยทั่วไป เรียกว่า
         1.Motor aphasis 
         2.Wernicke' aphasis
         3.Conduction aphasis
         4.Nominal aphasis
         5.Global aphasis
         6.Sensory agraphia
         7.Motor agraphia
         8.Cortical alexia
         9.Motor alexia
         10.Gerstmann's syndrome
         11.Visual agnosia
         12.Auditory agnosia
     ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
         -มักเงียบผิดธรรมชาติ
         -อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
         -ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
         -ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556

        เด็กที่มีความต้องการพิเศษ


แพทย์ เรียกว่า เด็กพิการ เพราะจะใช้บำบัด
         เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจ
ทางการศึกษา  เด็กที่ได้รับการศึกษาเฉพาะและเหมาะสมกับเขา
สรุป  เด็กพิเศษ
             - เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้เท่าที่ควรจากการให้ความช่วยเหลือ
              -เด็กจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ บำบัดและฟื้นฟู
              -มีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่
1.เด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง เรียกว่าเด็กปัญญาเลิศ ( มี IQ 120 ขึ้นไป)
2.เด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง กระทรวงศึกษาธิการแบ่งออกเป็น 9 ประเภท
    1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
    2.เด็กบกพร่องการได้ยิน
    3.เด็กบกพร่องทางการเห็น
    4.เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
    5.เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
    6.เด็กบกพร่องทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์
    7.เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียน
    8.เด็กออทิสติก
    9.เด็กพิการซ้อน
1.เด็กบกพร่องทางสติปัญญา คือ เด็กที่มี IQ ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน มี 2 กลุ่ม
    1.1 เด็กเรียนช้า
          -มีการเรียนที่ช้ากว่าปกติ
          -ขาดทักาะในการเรียนรู้
          -มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
          -มี IQ 70-90
         สาเหตุของการเรียนช้า
           ภายนอก
            -ฐานะครอบครัว
            -การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
            -สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
           ภายใน
            -การเจ็บป่วย
      1.2เด็กปัญญาอ่อน
            -มีพัฒนาการล่าช้า
            -ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่่่งแวดล้อมได้
            -เด็กที่มีพัฒนาการหยุดชะงัก
            -มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย
          แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
          1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลจากพยาบาลเท่านั้น
          2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34 ต้องการเฉพาะการฝึกหัดช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันง่ายๆ
          3.เด็กปัญญาอ่อนปานกลาง IQ 35-49 สามารถฝึกทำงานง่ายๆได้ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียด
          4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 เรียนระดับประถมศึกษาได้และฝึกอาชีพง่ายๆได้
     ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
        -ไม่พูด
        -ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
        -ช่วยเหลือตนเองได้น้อย
2.เด็กบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาในการรับฟังได้ไม่ชัดเจน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
    2.1 เด็กหูตึง สามารถใช้เครื่องช่วยฟังได้ จำแนกออกเป็น 4 กลุ่ม
           -หูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 dB
           -หูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 dB
           -หูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 56-70 dB
           -หูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 71-90 dB
    2.2 เด็กหูหนวก เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้เลย ระดับการได้ยิน 91 dB ขึ้นไป
   ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
        -ไม่ตอบสนองเสียงพูด
        -รู้สึกไวต่อการสั่นสะเทือน
3.เด็กบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้ 2 ประเภท ตาบอดและตาบอดที่ไม่สนิท
     3.1 ตาบอด
        -เด็กที่มองไม่เห็นเลย
        -มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
    3.2 ตาบอดไม่สนิท
        -สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
        -มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
    ลักษณะของเด้กบกพร่องทางการมองเห็น
        -เดินงุ่มง่าม ชนวัตถุ
        -เห็นสีผิดไปจากปกติ
        -มักบ่นว่าปวดศีรษะ
        -ก้มศีรษะติดกับงาน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1 วันที่ 7 พศจิกายน 2556

      วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนรายวิชานี้ อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปความรู้ก่อนเรียนว่ามีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างไร